วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุปบทความ

"สอนลูกเรื่องจำนวน การนับ และตัวเลข" 

(Teaching children about Number, Counting and Numeral)


  กิจกรรมการส่งเสริมเรียนรู้เรื่องจำนวน การนับ และตัวเลข เป็นกิจกรรมที่ทำได้ทุกวัน สอดแทรกในชีวิตประจำวัน เด็กจะได้รับการฝึกซ้ำๆ และต่อยอดเพิ่มพูนประสบการณ์ตามความสามารถของเด็ก เด็กจะเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์เรื่อง จำนวน การนับ และตัวเลขได้อย่างดี
   การจัดกิจกรรมจึงต้องอาศัยสื่อที่เป็นของจริง และให้เด็กปฏิบัติจริงผ่านการเล่นที่มีความสุข สนับสนุนให้เด็กคิดหาคำตอบเอง แต่ครูจะต้องเป็นผู้สังเกตที่ดี ว่าเด็กมีความสนใจและพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่


สรุปงานวิจัย


''การวิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย"


การวิจัย การวิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

ผู้วิจัย : นางจุฬวดี  ปทุมมณี  ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านทุ่งโป๊ะ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 3
ปีการวิจัย :      2555 - 2556
วัตถุประสงค์ คือ 
1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการวิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการวิจัย 
2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า
การวิจัยและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านทุ่งโป๊ะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3  ถือได้ว่าเป็นสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ดี










บันทึกอนุทินครั้งที่8

สัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ได้นักศึกษาได้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วก็ให้เขียนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง  และอาจารย์ได้นัดศึกษามาประชุม และจัดหาอุปกรณ์ในการทำให้ และแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อและอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มก็ได้มารับอุปกรณ์ที่กลุ่มของตัวเองต้องใช้ผลิตสื่อ แล้วนำกลับไปทำ


โดยมีกำหนดส่ง
         กลุ่มเรียนของดิฉันมีนัดส่งสื่อ ในวันที่ 22 มีนาคม 2562



ภาพรับอุปกรณ์เพื่อไปทำสื่อ

คำศัพท์

1.Equipment   อุปกรณ์

2.Future board   ฟิวเจอร์บอร์ด

3.Colour paper   กระดาษสี

4.Rope เชือก

5.Ribbon   ริบบิ้น

6.Sticker tape  เทปกาว

7.Scissors  กรรไกร

8.Cutter  คัตเตอร์

9.Duct tape   กระดาษกาวหนังไก่

10.Glue  กาว

ประเมิน 
ตนเอง : ตรงต่อเวลานัดหมาย 
เพื่อน  : ทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์แจ้งรายละเอียดและรับอุปกรณ์
อาจารย์ : ชี้แจงรายละเอียดได้ดี



บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



ความรู้ที่ได้ในการเรียน

-   การลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติการลงมือกระทำ         ด้วยตนเอง หรือ เรียกว่า วิธีการของเด็ก
 -  เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก 
     แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้ 
-   การเล่น คือ วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด

-   การเล่น ความสัมพันธ์ กับการทำงานของสมอง


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้



                พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
              พัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล


กิจกรรมที่ 2
     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีมาให้เลือก
แต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่องตัวเลข
กลุ่มที่ 2 จำนวน
กลุ่มที่ 3 การวัด
กลุ่มที่ 4 กราฟแท่ง
กลุ่มที่ 5 กราฟเส้น
กลุ่มที่ 6 ความสัมพันธ์สองแกน
กลุ่มที่ 7 คานดีดจากไม้ไอติม
กลุ่มที่ 8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ

คำศัพท์
1.    Sensori     ประสาทรับรู้
2. Concrete Operation   ปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
3.  Formal Operational    ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
4.Opposition    ตรงกันข้าม
5.Assimilationซึมซับ
6. Accommodation  ปรับและจัดระบบ
7. Equilibration  ความสมดุล
8.Subject   สาระ
9.Behavior  พฤติกรรม
10. Development   พัฒนาการ

ประเมิน
 ประเมินตนเอง   : ได้รู้จักในการวางแผน และรู้จักในการแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อทางคณิตศาสตร์
ประเมินเพื่อน     :  ทุกคนตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเข้าใจชัดเจน  และแบ่งกันให้นักศึกษาในการทำสื่อที่เข้าใจ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6




กิจกรรมที่1

นำเสนอ แผนผังความคิด เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ของเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อไว้ หัวข้อ คือ กิจกรรม สื่อ และ เทคนิค


กิจกรรมทางคณิตศาสตร์
      กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล

สื่อคณิตศาสตร์
      สื่อการสอนคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้ได้จากสื่อที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าสื่อที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้เด็กปฐมวัยมีช่วงความสนใจสั้น จึงมีความคิดว่าควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำ ปฏิบัติการและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสื่อการสอนจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย เพราะสื่อจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยหลายประเภท ได้แก่ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

คุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อเด็กปฐมวัย
         1.   ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะตรงกับความเป็นจริง และมีความหมายชัดเจน
         2.   เรียนรู้ได้มากขึ้นในเวลาที่กำหนด
         3.   เด็กปฐมวัยจำและประทับใจไม่ลืมง่าย
         4.   ช่วยให้เด็กปฐมวัยสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
         5.   ส่งเสริมการคิดและแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนการสอน
         6.   สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้สะดวก
         7.   ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น

เทคนิค
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือด้วยตนเองเท่านั้น
 2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
 3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่าง     ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น  ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุจริง ๆ  มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือแม้แต่การใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น  ให้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มีขั้นตอน ดังนี้

1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่

เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม ดังนี้

     1.1  ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น

     1.2  ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน

     1.3  ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด   

     1.4  ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ

2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก

3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ

4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม

5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น

     5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข

     5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ

     5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ

     5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน

     5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน

     5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ

     5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์ดังนั้น  หลักการจัดประสบการณ์ทาง

คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น  เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน











กิจกรรมที่2

อาจารย์ได้แจกดินน้ำมันให้คนละ ก้อน แล้วให้ปั้นเป็นรูปทรงเลขาคณิตมา 1อย่าง โดยปั้นเป็นแบบ มิติ จากนั้น อาจารย์ให้นำไม่จิ้มฟัน มาให้เราคิดต่อไปอีกอีกว่า จากสิ่งรูปที่เราปั้นมานั้น จะทำอย่างไร ให้เด็กมองภาพออกได้ชัดเจนมากขึ้นว่าสิ่งที่เราปั้นมาในตอนแรกนั้นเป็นรูปทรงเลขาคณิตชนิดใด

ภาพตัวอย่าง
คำศัพท์

1. Activities         กิจกกรม
2. Media              สื่อ
3. Technique        เทคนิค
4. Present            นำเสนอ
5. Name tag        ป้ายชื่อ
6. Sex                  เพศ
7. Compare         เปรียบเทียบ
8. Tale                 นิทาน
9. Survey            สำรวจ
10. Investigate    ตรวจสอบ

ประเมิน 
ตนเอง : ฉันตั้งใจฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์ได้ดี
เพื่อน  : ทุกคนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจ
อาจารย์ : สอนและอธิบายได้ดี มีแนะแนวทางเทคนิคในการเรียนรู้ที่ง่ายต่อการจดจำ